วันจันทร์ที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2554

เกี่ยวกับมอเตอร์ไฟฟ้า




      ในชีวิตประจำวันเราได้เกี่ยวข้องกับเครื่องใช้ไฟฟ้าชนิดหนึ่งเป็นประจำ  คือ มอเตอร์ ใกล้ตัวเรามากจนดูว่าไม่มีอะไรที่หน้าแปลกเพียงแต่คิดว่ามันเป็นเครื่องๆ หนึ่งที่ไม่มีคำว่าเครื่องกลหรือคำว่ามอเตอร์มาเกี่ยวข้อง   อย่างเช่น ไดร์เป่าผม  พัดลม ลิฟท์  ปั๊มน้ำ   เครื่องเล่นดีวีดี  เป็นต้น เดียวมีข้อมูลต่างๆที่เกี่ยวกับไฟฟ้าและมอเตอร์มาแนะนำกันนะครับ   หรือนักศึกษาที่หาความรู้ข้อมูลเพื่อประกอบการทำรายงานงั้นไปกันเลยครับ            
                   เริ่มต้นด้วยการคำนึงในการติดตั้งมอเตอร์ไฟฟ้าและวงจร
        เราต้องพิจารณาในหลายๆอย่างเพื่อให้ใช้ประโยชน์ได้อย่างคุ้มค่าเกิดประโยชน์เต็มที่และมีความปลอดภัยที่สุดเราอาจพิจารณาได้ดังนี้
           1.การบริการทางไฟฟ้า  (Electrical  Service)
          การบริการทางการไฟฟ้าเป็นสิ่งแรกที่ควรพิจารณาเพื่อให้ทราบถึงข้อจำกัดและคุณลักษณะต่างๆ ของการบริการไฟฟ้าที่มีอยู่  เช่น เป็นกระแสตรง   เป็นกระแสสลับ  จำนวนความถี่ของกระแสไฟฟ้า   60  Hz  50 Hz   เฟสไฟฟ้าว่าเป็นไฟกี่เฟส  3เฟสกี่สายหรือ1เฟส  และแรงดันไฟฟ้าว่ามีค่าแรงดันเท่าใด
             2.มอเตอร์  (Moter)
          การพิจารณามอเตอร์ที่จะใช้นั้นมีหลักในการพิจารณาคือ  ให้มีความเหมาะสมกับการบริการทางการไฟฟ้าที่มีอยู่  เช่นขนาดของมอเตอร์มีขนาดเหมาะสมพอดีกับการให้บริการทางไฟฟ้าที่มีอยู่หรือไม่ใช้ไฟกี่เฟสมีกี่แรงม้าไฟฟ้ารองรับได้หรือไม่
           3.วิธีการควบคุมมอเตอร์  (Operating  Characteristics  of Controller)
           วิธีการควบคุมพื้นฐานคือ  วงจรการควบคุมการเปิดปิดของมอเตอร์  และวงจรป้องกันมอเตอร์ให้พ้นจากความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นได้จากอุบัติเหตุ  ซึ่งทั้งสองวงจรจะต้องมีการติดตั้งอยู่เสมอภายในวงจรควบคุมมอเตอร์ไฟฟ้า  แต่ในบางครั้งการใช้งานยังมีวิธีการที่จะต้องพิจารณาเพิ่มขึ้นอีกได้  เช่น  การควบคุมมอเตอร์ให้กลับทางหมุนได้  หรือการควบคุมมอเตอร์ให้สามารถทำงานได้ที่ความเร็วรอบในระดับต่างๆกัน
         4.สิ่งแวดล้อม (Environment)
       ในปัจจุบันนี้การพิจารณาเรื่องสิ่งแวดล้อมเป็นเรื่องที่สำคัญมาก   ดังจะเห็นได้จาก  มีการตั้งกฎและข้อบังคับต่างๆ  ขึ้นมาเพื่อบังคับ  หรือปฏิบัติสำหรับผู้ประกอบการเพื่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด  ดังนั้น  ในการติดตั้งมอเตอร์  จะต้องมีการพิจารณาเรื่องของสิ่งแวดล้อมด้วย  เช่น ในเรื่องของเสียง   หรือสิ่งแวดล้อมในโรงงาน
      5.สัญลักษณ์และมาตรฐานทางไฟฟ้า(Electrical  Code  and  Standards)
      การใช้อุปกรณ์ต่างๆ  ในการติดตั้ง  หรือการใช้สัญลักษณ์เพื่อเป็นการบอกขั้นตอนในการควบคุมมอเตอร์นั้น  อุปกรณ์และสัญลักษณ์ที่ใช้จะต้องเป็นมาตรฐานสากล  และเป็นที่ยอมรับของหน่วยงาน  ที่มีหน้าที่ควบคุมในท้องถิ่นนั้นๆด้วยครับ
           จุดประสงค์ การควบคุมหลายประการด้วยกันได้แก่
     1.การเริ่มเดินเครื่องและหยุดเดินเครื่อง
  เป็นจุดมุ่งหมายเริ่มต้น  ในการควบคุมมอเตอร์  การเดินเครื่องและหยุดเครื่องนั้นมีความซับซ้อนไม่น้อย มีหลายลักษณะให้ตรงกับงานที่ทำ  เช่นการเดินเครื่องแบบเร็วหรือช้า  การเริ่มเดินเครื่องแบบมีโหลดมากหรือน้อย   การหยุดเดินเครื่องแบบทันที หรือแบบช้าๆ  การหยุดเดินเครื่องในตำแหน่งที่ถูกต้องจึงเป็นเรื่องที่ยากไม่น้อย
      2.การหมุนกลับทาง
   การควบคุมมอเตอร์ที่สำคัญอีกแบบหนึ่งคือ  การทำให้มอเตอร์สามารถหมุนกลับทางได้อาจจะหมุนกลับทางได้อัตโนมัติหรือใช้ผู้ควบคุมก็ได้
      3.การหมุนของมอเตอร์
    การควบคุมมอเตอร์หมุนให้ปกติตลอดการทำงานมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้เกิดความปลอดภัยแก่มอเตอร์ เครื่องจักร  โรงงาน  และที่สำคัญที่สุดคือผู้ใช้งาน
     4.การควบคุมความเร็วรอบ
   การควบคุมความเร็วรอบเป็นอีกเหตุผลหนึ่งในการควบคุมมอเตอร์  โดยการควบคุมความเร็วรอบของมอเตอร์นั้นสามารถทำได้หลายแบบด้วยกัน  เช่นการควบคุมความเร็วรอบให้คงที่  การควบคุมความเร็วรอบที่ต่างกัน  หรือการควบคุมความเร็วรอบที่สามารถปรับได้ตามต้องการ
        5.การป้องกันอันตรายที่จะเกิดแก่ผู้ใช้งาน
    ในการติดตั้งวงจรควบคุมมอเตอร์นั้นจะมีการวางแผนป้องกันอันตรายที่จะเกิดกับผุ้ใช้งานหรือผู้ที่อยู่บริเวณใกล้เคียง  โดยป้องกันที่ดีที่สุดคือต้องเริ่มจากพนักงาน มีการอบรบพนักงานที่ปฏิบัติหน้าที่ให้คำนึงถึงความปลอดภัยเป็นอันดับแรกในการทำงานเสมอ
         6.การป้องกันความเสียหายจากอุบัติเหตุ
  การออกแบบวงจรการควบคุมมอเตอร์ที่ดีควรจะมีการป้องกันความสียหายต่อมอเตอร์เครื่องจักรที่มอเตอร์ติดตั้งอยู่ในโรงงาน  หรือความเสียหายต่อชิ้นส่วนที่อยู่ในสายการผลิตในขณะนั้นด้วย  การป้องกันมอเตอร์จากความเสียหายนั้นมีหลายลักษณะด้วยกัน    เช่นการป้องกันโหลดเกินขนาด  การป้องกันการกลับเฟส  การป้องกันความเร็วรอบมอเตอร์เกินขีดจำกัด

           
การวัดค่าความเป็นฉนวน
      ในการใช้งานของมอเตอร์ย่อมมีการเสื่อมสภาพของฉนวนได้ความชื้น ความสกปรก สารเคมี และเศษวัสดุต่างๆสามารถทำให้ขดลวดสเตเตอร์และขดลวดสเตเตอร์ เสื่อมค่าความเป็นฉนวนได้  ดังนั้นจึงควรมีการตรวจสอบ  มีการวัดเพื่อให้เกิดค่าถูกต้อง
       การวัดประสิทธิภาพฉนวนนั้น  ค่าความเป็นฉนวนจะอยู่ในหน่วย  เมกะโอห์ม  เครื่องมือที่ใช้วัดคือเมกะโอห์มมิเตอร์  หรือบางทีก็เรียกว่า  เมกเกอร์  การทำงานของมิเตอร์วัดค่าความเป็นฉนวนนี้  จะเป็นว่าเครื่องวัดจะจ่ายกระแสไฟให้กับส่วนที่เป็นฉนวน  แล้วจะวัดจำนวนของกระแสไฟฟ้าที่อยู่ภายในฉนวนนั้น  ค่ากระแสที่ได้จะน้อยมาก เป็นไมโครแอมป์  แล้วค่าที่ได้จะถูกแสดงผลออกมาในหน่วยของเมกะโอห์ม
         การทดสอบการลัดวงจรมอเตอร์
       การทดสอบการลัดวงจร(Testing   for   short-Circuited  Coi) ทำได้โดย   ใช้เครื่องมือพิเศษที่เรียกว่า    โกรวเลอร์(  Growler)   เครื่องมือนี้ ประกอบด้วย  ขดลวดโย้ก (Yoke   Winding)    ซึ่งทำหน้าที่เหมือนขดลวดปฐมภูมิ  ของหม้อแปลงไฟฟ้า        และขดลวดที่ทดสอบก็เหมือนขดลวดทุติยภูมิ
        ถ้าขดลวดที่นำมาทดสอบเกิดลัดวงจร   ค่าของกระแสไฟฟ้าของขดลวดโย้กจะสูงขึ้นจากค่าปกติ  และขดลวดสเตเตอร์ของมอเตอร์ก็สามารถตรวจสอบโดยวิธีนี้ครับ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น