การตรวจซ่อมจอ





  การตรวจซ่อมจอ เราควรคำนึงถึงและรู้ถึงการทำงานของภาคต่างๆต่อไปนี้
 1. ภาคจ่ายไฟหลัก
 2.ภาคจ่ายไฟสวิทชิ่ง
 3.ภาค  ฮอริซอนทอล
 3.ภาคเวอร์ติคอล
 4.ภาควีดีโอ
 5.จอภาพ
 6.ภาคไมโครโปรเซสเซอร์
             1. ภาคจ่ายไฟหลัก
          ตอนนี้เรามากล่าวถึงอันดับต้นๆของการตรวจซ่อมกันเลยนะครับเริ่มจากทางไฟเข้า
  ภาคจ่ายไฟหลัก  หน้าที่ของภาคนี้จะเป็น  แปลงไฟ AC เป็นไฟ DC  กำจัดสนามแม่เหล็กและสัญญาณรบกวนและมีอุปกรณ์ป้องกันการลัดวงจร
 1.1 หน้าที่แต่ละส่วนของภาคนี้
      1.1.1 สวิทช์  ฟิวส์
               เป็นส่วนต้นทางของไฟเข้า ทำหน้าที่ป้องกัน การลัดวงจรหรือการช๊อต  การกินกระแสมากกว่าปกติ จะเป็นตัวตัดตอนก่อนได้รับความเสียหาย
      1.1.2 ไลน์ฟิลเตอร์
                ทำหน้าที่ในการกรองสัญญาณรบกวนกำจัดสัญญาณ  ไฟกระเพื่อม ลดไฟกระชากที่เกิดจากสาเหตุต่างๆไม่ว่าจะเป็น ฟ้้าผ่า การทำงานขอมอเตอร์ หม้อแปลง เป็นต้น
       1.1.3 เร็คติฟาย
                 ทำหน้าที่แปลงไฟเอซีให้เป็นไฟดีซีอาจเป็นการต่อไดโอด  4ตัว ต่อกันหรือใช้ ไดโอดบริดจ์ตัวเดียวก็เป็นไปได้ซึ่งจะรับไฟเอซี 220 โวลท์ เข้ามา
        1.1.4 ฟิลเตอร์
                  ทำหน้าที่นำไฟดีซีที่ได้จากการเร็กติฟาย  มากรองให้เรียบเพราะไฟที่ใช้ในวงจรแต่ละส่วนต้องเป็นไฟตรงที่เรียบและมีคุณภาพ นิยมใช้  คาปาซิเตอร์ตัวใหญ่ๆทนแรงดันได้มากกว่า 300 โวลท์ขึ้นไป
  2.1  อาการเสียในภาคจ่ายไฟหลัก
     2.1.1 จอมืด  ต้องเช็คว่าฟิวส์ขาดหรือไม่    ไดโอด เสียไหม  อาร์ยืดค่าหรือขาดไหม
     2.1.2 ฟิวส์ขาดแล้วขาดอีก   ให้เช็คที่ไดโอดบริดจ์และตัวกรองไฟ 300V
     2.1.3 สีเลอะที่หน้าจอ เป็นเนื่องจากวงจรดีเก๊าซิ่งไม่ทำงานหรือมีปัญหา
     2.1.4  ภาพสั่นเป็นคลื่นๆ  อาจเกิดจากตัวเก็บประจุกรองไฟ 300 V หรือเกิดจากมีสนามแม่เหล็กที่อื่นมารบกวน
     2.1.5สีเพี้ยนเป็นวงๆ  มีปัญหาที่ดีเก๊าครับ  มีแม่เหล็กตกค้างที่หน้าจอ
            2.ภาคจ่ายไฟสวิทชิ่ง

ภาคนี้จะเป็นภาคที่ส่งไฟไปให้ภาคต่างๆ   เช่น70-135 V ส่งไปวีดีโอเอ้าพุท    70-100 Vส่งไปภาคฮอร์เอ้าพุท     20-35 V  ส่งไปภาคเวอร์ติคอล    12V  ส่งไปภาควีดีโอแอมป์ แล้วกด็  6-7V ส่งไปยังใส้หลอด
    วงจรในภาคนี้ได้แก่
     -วงจรผลิตความถี่  PWM 
  เป็นวงจรผลิตความถี่รูปสี่เหลี่ยม เพื่อส่งให้วงจรเพาเวอร์สวิทช์สามารถทำงาน  on/off  ได้โดยย่านความถี่จะอยู่ที่   30  KHz   -39KHz  หรือมากกว่านั้น
     -พาวเวอร์ทสวิทชิ่ง
  ทำหน้าที่เปิดปิด เพื่อให้ไฟดีซี  300 V  ที่จ่ายผ่านหม้อแปลงสวิทชิ่งสามารถลงกราวด์ครบวงจรได้  เพื่อให้เกิดการเหนี่ยวนำแรงไฟ  ที่หม้อแปลงสวิทชิ่งต่อไป  ปกติภาคนี้จะใช้เพาเวอร์มอสเฟท  หรือ เอส ที อาร์  สังเกตได้จากจะติดแผ่นระบายความร้อนอยู่ใกล้ๆกับ C ตัวใหญ่ๆ 300 V
     -หม้อแปลงสวิทชิ่ง
  เป็นหม้อแปลงความถี่สูง เป็นตัวสีเหลืองๆมีตัวเดียวภายในเครื่องอยู่ใกล้ๆกับ C ตัวใหญ่ๆ 300 Vทำหน้าที่เหนี่ยวนำแรงไฟจากขดไฟเข้า  300 V  ให้ได้เป็นไฟ เอซี หลายๆชุด ตามค่าแรงไฟต้องการปกติแล้วไม่ค่อยมีปัญหาเสียยาก
     -เร็กติฟาย และฟิลเตอร์
  เป็นวงจรแปลงไฟ กระแสสลับเป็นกระแสตรง ก่อนที่จะจ่ายให้ส่วนต่างๆของวงจร แต่ถ้าไฟ ดีซี ยังไม่เรียบต้องมีวงจรกรองไฟ หรือฟิลเตอร์ให้เรียบเสียก่อน
     -ออปโตไอโซเลต
  โดยปกติแล้วออปโตไอโซเลต นำไปต่อวงจรตรวจสอบและป้องกันแรงดันทางออกของภาคสวิทชิ่งไม่ให้เกินซึ่งเป็นอันตรายต่อเครื่องได้  หรือนำมาต่อเพื่อแยกกราวด์ร้อนกับกราวด์เย็นออกจากกัน
       อาการเสียในภาคสวิทชิ่ง
    1. จอมืด  อาจเกิดจากไดโอดเร็กติฟาย หรือ ซีฟิลเตอร์ชอร์ตก็เป็นได้
    2.ฟิวส์ขาดแล้วขาดอีก  ให้เช็คที่เพาเวอร์มอสเฟท  อาจชอร์ตอยู่
    3.ภาพหด4ด้าน  เช็คที่ซีฟิลเตอร์  และอาร์ก่อนเข้าไดโอดบริดจ์
    4.จอมืดแต่ใส้หลอดติด  ให้เช็คที่ฮอร์เอ้าพุทเลย
    5.รอยหยักเส้นกวน เกิดจากไฟที่ส่งไปภาคฮอร์ไม่เรียบนั่นเอง
    6.เปิดแปีบหนึ่งแล้วจอมืด   เกิดจากไดโอดรั่ว มอสเฟทหยุดทำงาน บัดกรีไม่ดีอุปกรณืเสื่อมแล้ว